เจ้าของผลงาน
|
ชื่ออาจารย์ : |
นางสาวเตชินี ภิรมย์ |
ตำแหน่ง : |
ครู คศ.1 |
เบอร์โทรศัพท์ : |
|
อีเมล์ : |
|
โพสเมื่อ : |
29 พ.ย. 2563,20:31 อ่าน 46 ครั้ง |
|
|
|
ชื่อผลงาน : การคิดเชิงออกแบบกับกิจกรรมหุ่นยนต์ในชีวิตประจำวัน (Design thinking and robotic activities in daily life)
รายละเอียดผลงาน
การคิดเชิงออกแบบกับกิจกรรมหุ่นยนต์ในชีวิตประจำวัน (Design thinking
and robotic activities in daily life) การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่
21 นั้น ถือเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษาไทยและสอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศสู่ยุค
Thailand 4.0 วิธีการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวนี้สามารถทำได้หลากหลายวิธี
อาจเรียกแบบรวมได้ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้แบบ active learning หรือ การเรียนรู้เชิงรุก อีกทั้งการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าและยืนหยัดอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างมั่นคงและอย่างเป็นสุขนั้น
จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คนมีคุณภาพ
คือ การมีความสามารถในการคิด เพราะความสามารถในการคิดจะเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพทุกด้าน
ทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ด้วยความสำคัญดังกล่าว ระบบการศึกษาของประเทศไทย
ภายหลังการปฏิรูปการศึกษา จึงได้เริ่มให้ความสำคัญของการศึกษา เพื่อพัฒนาความคิด
โดยได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช
2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ให้สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยการฝึกทักษะกระบวนการคิด
การจัดการ การประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา และจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ
คิดเป็น และทำเป็น (ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, 2552 : 1) ทุกวิชาเรียนสามารถบูรณาการทักษะกระบวนการคิดได้ในทุกกลุ่มรายวิชา
ซึ่งทักษะกระบวนการคิด มีเป้าหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) นักเรียนรู้จักคิดและมีทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบ
และ 2) การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (ศูนย์พัฒนาหลักสูตร
กรมวิชาการ, 2541 : 1) และเป้าหมายเบื้องต้นของการคิดวิเคราะห์
คือ การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนอย่างหลากหลายในวงกว้าง สามารถปรับกระบวนการคิดในการดำรงชีวิตประจำวันได้
(ฉวีวรรณ เศวตมาลัย, 2544 : 8 - 9) ซึ่งกระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นกระบวนการคิดหนึ่งที่เพื่อแก้ไขปัญหา
และพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นไปที่มุมมองของผู้ใช้
และสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้
และสถานการณ์ (ศศิวัฒน์ หอยสังข์,2562)
ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนควรปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นนักออกแบบและแก้ปัญหาที่ดี
โดยเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติค้นคว้าด้วยตนเอง หาสาเหตุของปัญหา
และวิธีการแก้ปัญหา สามารถเชื่อมโยงความรู้เป็นลำดับขั้นตอน การสร้างความคุ้นเคยในการแก้ปัญหาและการแสวงหาความรู้ความจริงใหม่ๆ โดยใช้หลักการวิจัยที่เป็นกระบวนการคิดจะช่วยให้เข้าถึงองค์ความรู้
สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพเมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่องยาวนานจะช่วยให้เข้าถึงปัญญา
เข้าถึงหลักการของการศึกษาอย่างแท้จริงข้าพเจ้าจึงตระหนักและเห็นความสำคัญการพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบกับกิจกรรมหุ่นยนต์ในชีวิตประจำวัน
( Design
thinking and robotic activities in daily life ) |
ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์ 168.42 KB
|
โพสเมื่อ :
29 พ.ย. 2563,20:31
อ่าน 46 ครั้ง
|